วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

องค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง การบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง การบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"
การนำระบบเครือข่าบแบบออนไลน์มามีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจมีส่วนในการซื้อและจำหน่ายสินค้า การให้ข้อมูลแก่ลูกค้าดึงดูดความสนใจประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้าโดยส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลสินค้า Google ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบดังนี้

Get your business online คือ การเข้ามามีตัวตนบนโลกออนไลน์ การสามารถค้นพบได้ด้วย Search Engine ซึ่งให้เราอยู่ในผลการค้นหาได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา ซึ่งการค้นพบเป็นลำดับแรกๆ

 Be found – when customer is searching คือ การสามารถค้นพบได้จากการค้นหาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งอาจเป็นการค้นหาเจอได้โดยทั่วไปซึ่งจะต้องทำให้ค่า Page rang สูง หรือการค้นหาเจอโดยการซื้อตำแหน่งคำค้นหา หรือการโฆษณาโดยตัวค้นหาหรือ Google Adwords ซึ่งผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งลูกค้าคลิกเข้าไป

Be reached – show where you are คือ การสามารถค้นหาเจอได้จากแผนที่อาจผ่านทาง Google maps เพื่อระบุตำแหน่งของห้างร้านคุณ
Get closer to your customers คือ การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น โดยการผ่านทาง Google plus ทำให้เสนอข้อมูลและคุยกับลูกค้าได้  การนำเสนอสินค้าได้    
Increase your performance คือ การสร้างรายงาน โดย Google narcotic เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์
     
Engage your customer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ ซึ่งต้องออกแบบให้เป็น Mobile site เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้

Go Global (AEC) คือ การเข้าถึงได้ทั่วโลก คือ Google มีความสามารถในการช่วยในด้านภาษาก็สามารถช่วยในการแปลภาษาให้เข้าใจระหว่างกันได้ ทำให้ภาษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วย Google translate
2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์จากการบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"
 คำคัพท์
Page Rang
คือ หน้าหลักของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ใช้ในการติดต่อ

Google adwords
เป็นการค้นหาให้เป็นลำดับแรกๆ โดยการโฆษณาให้เป็นลำดับแรกจากการค้นหา เมื่อผู้เข้าชมคลิกทุกครั้งผู้ที่จ้างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีการคลิก
Natural Result
คือ ผลที่ได้ออกมาตามธรรมชาติ

Be found
คือ การค้นพบ

Map
คือ แผนที่

Success
คือ ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ

Street view
คือ มุมมองที่เสมือนจริง

Segment
คือ ส่วนประกอบ

Conversations
คือ การสนทนา

Increase
คือ การเพิ่มขึ้น

Performance
คือ การปฏิบัติ

Rail time
คือ การทำงานแบบตอบสนองทันทีทันใด

Engage
คือ การประกอบ

Global
คือ ความทั่วถึง การเข้าถึงทั่วโลก

Corporate
คือ การร่วมกลุ่มความร่วมมือ,บริษัท

Start up
คือ การิเริ่ม การเริ่มต้น

Off line
คือ การตัดจากระบบอินเตอร์เน็ต,การอยู่ในสถานะไม่ได้เชื่อมต่อระบบ

Digital Marketing
คือ การตลาดแบบดิจิตอล อาจเป็นสื่อ หรือเว็บไซต์ นำมาประยุกต์ใช้ทางการตลาด

Search คือ การค้นหา

Moment
คือ การดำเนินการในขณะนั้น

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"สำหรับผู้ ประกอบการที่สนใจและต้องการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย Digital Marketing

การตลาดยุคใหม่การสร้างค่านิยมในจิตใจของผู้บริโภค การช่วยเหลือการตัดสินใจการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทำอย่างไรให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคอย่างเร็วที่สุดอย่างดีที่สุด รวมถึงการสะท้อนความคิดเห็นของผู้บริโภคให้เป็นเเรงผลักดันในการผลิตสินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์เนื่องจากเทคโนโลยี ในการผลิตสินค้า หรือกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริโภค ของผู้ผลิต หรือเจ้าของแบรนด์ นั้นไม่ได้แตกต่างกันมากในยุคปัจจุบันนี้ สิ่งที่สร้างความแตกต่าง สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันนั้นเราต้องเข้าถึงผู้บริโภคแบบ 3 มิติคือ
1.เข้าใจถึงหตุผล
2.เข้าใจถึงอารมณ์

3.เข้าใจถึงจิตวิญญานของผู้บริโภคเราสามารถกระตุ้นในผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค
คำศัพท์ที่ได้จากการรับฟัง
1.Mass marketing คือ กาตลาดที่ใช้การสื่อสารมวลชนเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการผลิตและโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
2.Conversation คือการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือผ่านสังคมออนไลน์
3.Identity คือเอกลักษณ์เฉพาะตัวการมีรูปแบบที่เรียบง่ายน่าจดจำ จำง่าย
4.Social Media คือเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เสนอข้อดีของธุรกิจให้กับผู้บริโภค
5.Reviewer คือนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นและสะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการให้กับธุรกิจ
6.Publisher คือการกระจายข่าวด้วยสังคมออนไลน์โดยใช้สื่อกลางเป็นเครือข่าย ได้ง่ายอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง 7.Collaborative Marketing คือความสัมพันธ์การตลาดการร่วมกลุ่มกันทำการตลาด ลูกค้ามีส่วนช่วยในการโฆษณา ออกความคิดเห็นในการปรัปเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์
8.Referral คือต้องทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้า และกล้าแนะนำให้ผู้บริโภคคนอื่นที่ไม่รู้จักมาใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ
9.Entertainment Value คือต้องมีการแบ่งบันข้อมูลการโฆษณาทางธุรกิจ ระหว่างผู้บริโภคด้วยกันโดยที่สามารถสร้างความสุขความบันเทิงให้ลูกค้ามีความสุข ประทับใจธุรกิจ
10.Owened media คือเป็นสื่อเว็บไซต์ที่เราเป็นเจ้าของสื่อนี้เองบนโลกออนไลน์
 11.Awarneness คือการตรหนักที่ทำให้ผู้บริโภครู้จัก ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

12.Transaction Marketing คือตลาดการซื้อขายเปรียบได้กับการซื้อมา ขายไป การแลกเปลี่ยนแบบมีสถานที่ หรือตลาดคงที่ สามารถจับต้องได้
13.Trial คือมีการให้ลูกค้าทดลองสินค้า แล้วเกิดความชอบสินค้าของธุรกิจ
14.Commitment คือเมื่อชอบแล้วมีการบอกต่อให้กับผู้บริโภคคนอื่น
15.Involvement คือการทำให้ผู้บริโภคเกิดมีส่วนร่วมกับธุรกิจ สามารถออกแบบแสดงความคิดเห็นถึงตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้
16.Relationship Marketing  คือตลาดมุ่งเน้นความสัมพันธ์การตลาดแบบมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า การบริการมีส่วนสำคัญในการตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ การสร้างมิตรจิตมิตรใจหรือไมตรีจิตผ่านการบริการนั้น จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด
17.Change of marketing คือการเปลี่ยนแปลงของการตลาดตามค่านิยมโดยปัจจุปันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
18.Digital marketing การส่งเสริมการตลาดอีกวิธีหนึ่ง เป็นการสร้างแบรนด์ผ่านสื่อดิจิตอล เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ หรือช่องทางสื่ออื่น ๆ ที่เป็นแบบ  สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ในทันที เป็นวิธีทำการตลาดวิธีหนึ่งที่สามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
19.Social media คือโครงข่ายการสร้าง Media ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยคนที่สร้างสื่อใช้ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของอินเตอร์เน็ท ความจริงแล้วเกิดขึ้นเพราะความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในสังคมที่ต้องการการปฎิสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารกันและต้องการความเห็นกัน
20.Earned media หมายถึง สื่อที่ลูกค้าภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้นมา โดยพูดถึง สนับสนุนสินค้าและแบรนด์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกค้ามีส่วนร่วมและพัฒนาภายใต้ความรู้สึกนึกคิดและอัตตาของตนเอง ถือเป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์และแสดงทัศนคติต่อแบรนด์อย่างชัดเจน

ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ไม่ประสบผลสำเร็จและประสบความสำเร็จ เกิดมาจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ

ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ และล้มเหลวเกิดมาจากสาเหตุหลายประการอาทิเช่น 1. การลอกเลียนแบบ เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตามทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนไหนที่เป็นข้อแตกต่างข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง
2. การอยู่กับความฝันเป็นความเพ้อฝันในสิ่งที่เราไม่ได้ลงมือปฎิบัติงานจริงคิดจะทำแต่ไม่ได้ลงมือทำก้อจะไปไม่ถึงจุดเป้าหมายตางแผนที่วางไว้
3. ทำเว็บไซต์ให้มีลักษณะสวยงามน่าสนใจแต่ไม่ได้คำนึงถึงตัวสินค้าว่าลูกค้าสนใจอะไรทำให้การเข้าดูข้อมูลช้าไปหมดเพราะหน้าเว็บรกไปด้วยการตกแต่งรูปภาพใช้เนื้อที่ในการสร้างเว็บมากเกินส่งผลให้การทำงานประมวลผลช้า
4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อยอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ไม่ได้นึกถึงความความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิด คุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง
5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอการไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือ ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนนามีหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ
6. ทำงานได้ทีละอย่างไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็น สำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บ ที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทาทำที่ละเรื่อง เมื่อเสร็จแล้วค่อย ทำอีก จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามา โดยตลาดจากทุกมุมโลก
7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย
ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ที่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยหลักการต่าง ๆ ต่อไปนี้
การ ทำอีคอมเมิร์ชนั้น คงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วใครต่อใครก็ต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปดูกันได้เท่านั้น เพราะหากว่าไปแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน "ภาพพจน์" หนึ่งของบริษัท หากท่านอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญวัดชะตาว่าเว็บของท่านจะ รุ่งหรือร่วง
1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้าบางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบารับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก
2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีมีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป
3. ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง
4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า
6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี , รูปแบบ , ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น
7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก

SoLoMo: SOCIAL MEDIA LOCATION MOBILE

SoLoMo เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่วิเคราะห์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ ในโลกของสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์เจริญไปด้วยเทคโนโลยีระดับสูง Social Network หรือ Social Media มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลกัน การทำธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่ายการทำธุกิจให้เป็นที่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เป็นการรองรับการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต จะสังเกตุได้จากสถานที่ต่าง ๆ จะมีคนใช้โทรศัพท์สมารท์โฟนเป็นในลักษณะเลื่อนหน้าจอเพื่อค้นหาข้อมูล อัพเดทสถานะหรือคุยผ่านการแชทกับเพื่อนออนไลน์ การเติบโตบนโลกอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกส่งผลให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการรวมถึงเจ้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะต้องพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นหน้าเว็บไซต์ของตัวเองปรากฏอยู่ในมือของผู้บริโภคให้มากที่สุด และยิ่งมากเท่าไหร่โอกาสที่จะได้เขามาเป็นลูกค้าของธุรกิจมากขึ้น
ZMOT หมายถึง เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริโภคที่ได้ลองใช้สินค้าแล้วนำข้อดีของตัวสินค้านั้นมาโพสต์ในเว็บไซต์ของสินค้าจนั้นเพื่อเป็นการดึงดูดโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้ลองเข้ามาดูสินค้าพิจารณาตัดสินใจสั่งซื้อทางเว็บไซต์หรือไปที่ร้านจริง เนื่องจาก การเติบโตของโลก สังคมออนไลน์การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่อที่ใช้รูปแบบง่ายต่อการใช้งานแค่มีอินเตอร์ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานได้แล้ว