วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ไม่ประสบผลสำเร็จและประสบความสำเร็จ เกิดมาจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ

ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ และล้มเหลวเกิดมาจากสาเหตุหลายประการอาทิเช่น 1. การลอกเลียนแบบ เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตามทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนไหนที่เป็นข้อแตกต่างข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง
2. การอยู่กับความฝันเป็นความเพ้อฝันในสิ่งที่เราไม่ได้ลงมือปฎิบัติงานจริงคิดจะทำแต่ไม่ได้ลงมือทำก้อจะไปไม่ถึงจุดเป้าหมายตางแผนที่วางไว้
3. ทำเว็บไซต์ให้มีลักษณะสวยงามน่าสนใจแต่ไม่ได้คำนึงถึงตัวสินค้าว่าลูกค้าสนใจอะไรทำให้การเข้าดูข้อมูลช้าไปหมดเพราะหน้าเว็บรกไปด้วยการตกแต่งรูปภาพใช้เนื้อที่ในการสร้างเว็บมากเกินส่งผลให้การทำงานประมวลผลช้า
4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อยอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ไม่ได้นึกถึงความความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิด คุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง
5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอการไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือ ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนนามีหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ
6. ทำงานได้ทีละอย่างไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็น สำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บ ที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทาทำที่ละเรื่อง เมื่อเสร็จแล้วค่อย ทำอีก จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามา โดยตลาดจากทุกมุมโลก
7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย
ในการประกอบธุรกิจแบบ E-commerce ที่ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยหลักการต่าง ๆ ต่อไปนี้
การ ทำอีคอมเมิร์ชนั้น คงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วใครต่อใครก็ต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปดูกันได้เท่านั้น เพราะหากว่าไปแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน "ภาพพจน์" หนึ่งของบริษัท หากท่านอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญวัดชะตาว่าเว็บของท่านจะ รุ่งหรือร่วง
1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้าบางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบารับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก
2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีมีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป
3. ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง
4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า
6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี , รูปแบบ , ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น
7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก

8 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาสาระดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาชัดเจน อ่านง่ายดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหามีความชัดเจนดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาชัดเจนครับ ตรงประเด็นเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  5. เนื้อสาระมีความชัดเจนดี เข้าใจง่ายคะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีมากค่ะ เข้าใจง่าย สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการทำธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง

    -แม้ปัจจุบันภาพรวมของการสื่อสารผ่านเครือข่ายออนไลน์จะได้รับความนิยมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฎว่า ยอดการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าว กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

    -อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงลักษณะทั่วไปของธุรกิจ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีสัดส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก(มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน) มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.5 และเป็นการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C) ร้อยละ 73.3

    ตอบลบ
  7. เนื้อหา คลอบคลุมเข้าใจง่ายดีค่ะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาเยอะดีนะคับ ธุรกิจเหล่านี้อาจจะเป็นธุรกิจใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยน่าสนใจ

    แต่ในอนาคตผมว่าธุรกิจนี้จะเป็นการเปิดการค้าที่ทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้

    ส่วนตัวผมเองเกี่ยวกับธุรกิจด้านนี้เหมือนกันคับ

    :")

    ตอบลบ